Welcome to English This & That
ใน English this and that เราได้รวบรวมแบบฝึกหัดและข้อสอบสำหรับเตรียมสอบ standardize tests ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น CEFR - Oxford และ Cambridge, หรือ TOEIC, TOEFL, IELTS, และการสอบภายในประเทศไม่ว่าจะเป็นการเตรียมตัวสอบ error identification, sentence completion สำหรับสอบ TOEFL, TU-GET, CU-TEP และ T-GAT เพื่อให้ฝึกทำ รวมทั้งอธิบายแกรมม่าและแบบฝึกหัดสำหรับทุกระดับให้ฝึกทำค่ะ
เกี่ยวกับข้อสอบ
มารู้จักกับข้อสอบชนิดต่างๆที่เด็กไทยต้องเจอบ้างค่ะ ว่า standardize tests ชนิดต่างๆเหมาะกับใคร ข้อสอบมีอะไรบ้าง และต้องเตรียมตัวอย่างไร
TOEIC
การสอบโทอิค – TOEIC หรือที่ย่อมาจาก Test of English for International Communication คือ การสอบวัดระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษโดยทั่วไป สำหรับคนทำงานในตลาดแรงงานโดยเฉพาะ ผู้ที่สอบอาจจะเป็นคนที่กำลังมองหางาน หรือนักศึกษาที่กำลังจะก้าวเข้าตลาดงาน และผู้ที่ต้องการเลื่อนขั้นเกณฑ์อย่างนึงที่นายจ้างเอามาเป็นตัววัดก็คือ TOEIC ค่ะ
CEFR
CEFR (Common European Framework of Reference for Languages) กรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษ ของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งในประเทศไทยก็เพิ่งจะนำมาใช้อย่างแพร่หลายไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เองค่ะ ไม่ว่าจะเป็นสอบเพื่อเข้า ม.1, เข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย, วัดระดับก่อนเรียน, หรือแม้แต่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี โท และ เอก ก็ใช้คะแนน CEFR มาเป็นเกณฑ์การจบเช่นกันค่ะ
CEPT
CEPT (Cambridge English Placement Test) เป็นแบบทดสอบภาษาอังกฤษทั่วไปสำหรับการประเมินเบื้องต้นเกี่ยวกับความรู้ทางภาษาของผู้สมัครตั้งแต่ระดับต่ำกว่า A1 ถึง C1 ของ Common European Framework of Reference (CEFR)
ในบ้านเราข้อสอบ CEFR ก็จะมี 2 ตัวที่ใช้กันคือ Oxford กับ Cambridge ขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันเลยค่ะว่าใช้ตัวไหน ที่เห็นหลักๆก็เห็นว่า มหาวิทยาลัยนเรศวร, ข้าราชการครูที่สอนภาษาอังกฤษ (ส่วนใหญ่) และผู้ที่สอบทำวีซ่าประเทศอังกฤษก็ใช้ CEPT ค่ะ
IELTS
IELTS (International English Language Testing System) เป็นการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อประเมิณทักษะของผู้ที่ต้องการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสื่อสารสำหรับการทำงาน การศึกษา หรือการย้ายถิ่นฐานการสอบวัดระดับ IELTS นั้นเป็นที่ยอมรับจากองค์กรมากกว่า 11,000 แห่งทั่วโลก
Grammar Explanation
เลื่อนลงและคลิ๊กเพื่ออ่านแกรมม่าในแต่ละเรื่องพร้อมทั้งแบบฝึกหัดเยอะแยะมากมายค่ะ
Noun
ก็ตามที่เรารู้จักและเรียนกันมาแหละว่าคำนามคือคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ถ้าเราแบ่งหมดออกเป็นเรื่องใหญ่ๆบางคนก็แยกเป็น นามนับได้ กับนามนับไม่ได้ หรือ Proper noun, กับ Common noun, หรือ concrete noun กับ abstract noun แต่หลักๆเลยเราต้องรู้ว่านามไหนนับได้นับไม่ได้ เอกพจน์หรือพหูพจน์ เพราะว่าตัวยุ่งมันคือ "กริยา" ค่ะ กริยาคือตัวที่เลือกว่ามันจะตามประธานเอกพจน์หรือพหูพจน์ เพราะฉะนั้นมาดูคำนามตามหมวดหมู่ของมันเลย
Conjunction (สันธาน)
คำสันธาน คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมประโยคตั้งแต่ 2 ประโยคเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ใจความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งคำสันธานก็ประกอบด้วยหลายประเภทตามโครงสร้างของความซับซ้อนของประโยค แต่สิ่งที่เราควรจะรู้เมื่อเราทำข้อสอบหรือเขียนก็คือเราต้องรู้ว่าคำสันธานนี้มีกี่ตัวในประโยคเพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนกริยา เช่น 1 Verbs 2 Conjunctions
Tenses
เรื่องของ tense ฟังดูเหมือนยากเนาะ พูดเรื่องนี้กับเด็กๆก็กลัวกันเชียว แต่ที่จริงแล้วมันไม่ยากอย่างที่คิดหรอกค่ะ ให้เราคิดตามหลักความเป็นจริงว่า tense ก็คือเรื่องของเวลา (อดีต ปัจจุบัน อนาคต) ที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นหลายๆแบบ ไม่ว่าจะเกิดแบบธรรมดา กำลังเกิดขึ้น เกิดไปแล้วเพิ่งจบ เกิดไปแล้วยังไม่จบ เดี๋ยวเรามาดูเหตุการณ์ในแต่ละ tense กันค่ะ
Phrasal verbs & collocations
Phrasal Verbs คือ กริยาวลี เป็นการนำกริยามารวมกับ adverb หรือ preposition หรือทั้งสองคำ แล้วทำให้ความหมายของคำกริยาเปลี่ยนไปจากเดิมค่ะ
ส่วน Collocations คือกลุ่มคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปใช้ด้วยกันเพื่อให้มันสวยและเป็นธรรมชาติและถือว่าเป็นกลุ่มคำที่เราต้อง "จำ" เพื่อให้ภาษาของเราสวยและดูเป็นธรรมชาติเหมือน native เค้าใช้พูดกันจริงๆค่ะ